• Welcome to ลงประกาศฟรี โปรโมทเว็บ SEO SMF PBN.
 

✨การเจาะสำรวจดิน (Soil Boring Test) ✨จุดเริ่มต้นงาน วิศวกรรมฐานราก🌏

Started by dsmol19, Jul 17, 2024, 05:39 AM

Previous topic - Next topic

dsmol19

งาน เจาะสำรวจดิน และ ทดสอบทางปฐพีกลศาสตร์ ถือเป็นสาขาหนึ่งที่สำคัญอันดับต้น ๆ ของงาน วิศวกรรมโยธา กล่าวคือ โครงสร้าง อาคาร ต่าง ๆ ล้วนถูกสร้างอยู่บนพื้นดิน และชั้นดินในบริเวณนั้น ๆ ซึ่งทำหน้าที่รับน้ำหนักของสิ่งปลูกสร้างด้านบนผ่านโครงสร้างใต้ดินที่เรียกว่า ฐานราก (Foundation) ดังนั้นการสำรวจสภาพชั้นดินและทดสอบหาคุณสมบัติดินจึงมีความจำเป็นต่อการ การออกแบบฐานราก

คุณภาพของข้อมูลจากการสำรวจสภาพชั้นดินเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อผู้รับผิดชอบในงาน ออกแบบโครงสร้าง เนื่องจากความผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับงาน ฐานราก นั้นเป็นปัญหาที่แก้ได้ยากและมีค่าใช้จ่ายสูง โดยเฉพาะเมื่อมี โครงสร้างเหนือพื้นดิน ดังนั้น ข้อมูลชั้นดินที่มีความถูกต้องและเพียงพอจะช่วยให้ผู้ออกแบบสามารถ ออกแบบโครงสร้างใต้ดิน ได้อย่างเหมาะสม ประหยัด ปลอดภัย และสามารถลดต้นทุนโครงการได้

🦖🎯✅📌🦖🎯✨🥇🛒
Quoteบริการ รับเจาะดิน | บริษัท เอ็กซ์เพิร์ท ซอยล์ เซอร์วิส แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
บริษัท ทดสอบดิน บริการ เจาะสํารวจดิน วิเคราะห์และทดสอบคุณสมบัติทางด้านวิศวกรรมปฐพีของดิน ทดสอบเสาเข็ม (Seismic Test)

👉 Tel: 064 702 4996
👉 Line ID: @exesoil
👉 Facebook: https://www.facebook.com/exesoiltest/
👉 เว็บไซต์: เจาะสำรวจดิน.com
⚡✨🥇🛒📌🦖🌏⚡✨

การ สำรวจชั้นดิน คือกรรมวิธีการเจาะลงไปในชั้นดิน, เก็บตัวอย่างดิน, ทดสอบดินในสนาม, หยั่งชั้นดินจากผิวดิน หรือใช้เทคนิคอื่น ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งลักษณะชั้นดินทั้งทางแนวดิ่ง และการเปลี่ยนแปลงทางแนวราบ เพียงพอในการที่จะใช้ออกแบบ หรือศึกษาทางด้านปฐพีกลศาสตร์ ลักษณะการสำรวจชั้นดินจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ใช้งานด้วย เช่น งานถนนหรือสนามบิน การสำรวจจะกระทำเพียงตื้น ๆ แต่งาน ฐานรากเสาเข็ม ต้องสำรวจลงไปลึกกว่าปลายเข็มที่คาดว่าจะใช้งาน สำหรับในบทนี้จะพูดถึงการสำรวจโดยวิธีเบื้องต้น โดยใช้ สว่านมือ การเจาะล้าง (Wash Boring) และการเก็บตัวอย่างดินโดยใช้ กระบอกบาง

⚡⚡⚡เหตุผลในการเจาะสำรวจดิน🦖🦖🦖

🌏1. รู้ประเภทของดิน ทราบลักษณะเชิงกล เราจะได้เลือกใช้ ฐานรากที่เหมาะสม เช่น หากดินแข็งพออาจจะเลือกใช้เป็น ฐานรากแผ่ แทน
📌2. เพื่อให้ทราบความลึกของชั้นดินดาน (ดินแข็ง) ว่าลึกเท่าไร เพื่อนำไปคำนวณกำลังรับน้ำหนักของเสาเข็ม เลือกขนาดและความยาวเสาเข็มที่ต้องใช้ได้
📌3. ป้องกันความผิดพลาดในการตอกเสาเข็ม เพราะหากเจอชั้นดินแข็ง แต่ไม่หนาที่ชั้นความลึกไม่มาก อาจทำให้คนตอกเสาเข็มหยุดตอก เพราะคิดว่าถึงชั้นดินแข็งแล้ว ทั้งที่จริง ๆ สามารถตอกทะลุลงไปได้อีก หากดินในบริเวณที่สำรวจมีความผันผวนมาก วิศวกรควรสั่งให้เจาะสำรวจดินหลาย ๆ หลุมให้เพียงพอ เพื่อเปรียบเทียบ เพราะอาจต้องออกแบบฐานรากหลายชนิด สำหรับก่อสร้างอาคารนั้น

🎯🎯🎯ประเภทของการเจาะสำรวจดิน🛒🛒🛒

📌1. การเจาะกระแทก 👉คือการเจาะที่อาศัยแรงกระแทกของ Heavy chisel, Spun หรือ Wash boring ในการนำดินขึ้นมาจากหลุม แต่เพราะมีแรงกระแทก ทำให้เกิดการรบกวนตัวอย่างดินในชั้นที่อยู่ลึกลงไป ดังนั้น ต้องใช้ประสบการณ์ ความชำนาญ ในการควบคุมการเจาะเพื่อให้รบกวนดินน้อยที่สุด
🌏2. การเจาะปั่น 👉คือการใช้ใบมีดหรือหัวเจาะหมุนลงไปในดิน โดยกำลังของเครื่องยนต์ ทำงานได้เร็ว นิยมใช้สำหรับเจาะหิน แต่ต้องใช้น้ำเป็นตัวช่วยระบายความร้อนที่หัวเจาะที่ก้นหลุมด้านล่าง

📌📌📌ข้อดี-เสีย เครื่องเจาะกระแทก VS เครื่องเจาะปั่น🥇🥇🥇

เครื่องเจาะกระแทก🥇🛒📌 (Percussion Drilling)
🌏1. น้ำหนักเบา การขนย้ายทำได้สะดวก📢
✅2. เคลื่อนย้ายเข้าตำแหน่งหลุมเจาะได้ง่ายสามารถทำงานภายในพื้นที่แคบ ๆ ได้🌏
✨3. สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงน้อย เมื่อเทียบกับแบบเจาะปั่น🛒

เครื่องเจาะปั่น🌏⚡✨ (Rotary Drilling)
🌏1. สามารถเจาะหลุมได้ทุกขนาด และทุกสภาพชั้นดิน หรือแม้แต่ชั้นหิน✨
🦖2. การเคลื่อนย้ายเข้าพื้นที่สำรวจที่มีความลาดชันทำได้ง่ายกว่าเครื่องเจาะกระแทก✨
🛒3. การติดตั้งท่อกันดินในระดับลึกทำได้ง่าย🌏
🦖4. ช่วยการติดตั้งท่อและอุปกรณ์สำหรับการทดสอบต่าง ๆ📌
🌏5. อัตราการเจาะหลุมเร็วกว่าเครื่องเจาะกระแทก🎯

🌏🌏🌏สรุป✅✅✅

สภาพชั้นดินในหลายพื้นที่ของประเทศไทยนั้นอาจมีความแปรปรวนของชั้นดิน ทำให้สภาพพื้นที่แตกต่างไปจากพื้นที่ทั่วไป เช่น มีชั้นทรายที่หลวมผิดปกติ มีชั้นดินเหนียวอ่อน หรือระดับความลึกของชั้นดินที่แข็งแรงมีความผันแปรสูง เป็นต้น จากลักษณะของชั้นดินเหล่านี้ อาจทำให้ฐานรากพังได้ ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายอย่างคาดไม่ถึง ก่อนที่วิศวกรจะทำการออกแบบฐานรากที่ดีและเหมาะสมนั้น จึงต้องจัดให้มีการสำรวจดินอย่างเพียงพอ เพื่อให้การออกแบบโครงสร้างต่าง ๆ ถูกต้องตามหลักวิศวกรรมอย่างละเอียดรอบคอบ เพื่อการวิเคราะห์ดินจากประสบการณ์และการสังเกต เมื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับดินในส่วนใดแล้ว จะต้องมีการวางแผนการเจาะดิน เพื่อให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย พร้อมกับได้ข้อมูลที่แม่นยำ เพราะดินมีคุณสมบัติที่ซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงไปตามสถานที่ต่าง ๆ จึงยังไม่มีวิธีใดที่เหมาะสมที่สุดไปกับดินทุกสภาพ